วันอังคารที่ 30 สิงหาคม พ.ศ. 2559

กลวิธีด้านการแต่ง เรื่อง อิเหนา ตอนศึกกะหมังกุหนิง

1. ด้านจินตภาพ ผู้แต่งสามารถบรรยายคำออกมาได้ชัดเจนสมบูรณ์ ทำให้ผู้อ่านคิดภาพตามได้และเกิดอรรถรส

2. ภาพพจน์ ผู้แต่งใช้การแต่งแบบอุปมา โดยการใช้คำเปรียบเทียบสิ่งหนึ่งเป็นสิ่งหนึ่ง ทำให้เห็นภาพชัดขึ้น และใช้การเปรียบเทียบเกินจริง เพื่อให้ผู้อ่านเห็นภาพมากขึ้น

3. การเล่นคำ มีการเล่นคำซ้ำ ใช้ภาษาสละสลวย พ้องเสียง การเล่นสัมผัสพยัญชนะ

ตัวละคร เรื่อง อิเหนา ตอนศึกกะหมังกุหนิง

   อิเหนา : เป็นโอรสของท้าวกุเรปันกับประไหมสุหรี นิหลาอระตา มีลักษณะเจ้าชู้ แต่มีความเป็นชายชาติทหารอย่างนักรบ เข้มแข็ง เด็ดเดี่ยว

ท้าวกุเรปัน : เป็นกษัตริย์ที่ยิ่งใหญ่ มีพระอนุชา 3 องค์ ได้แก่ เมืองดาหา กาหลัง สิงหัดส่าหรี นิสัยเป็นคนถือยศศักดิ์ รักเกียรติ์และวงศ์ตระกูล

ท้าวดาหา : เป็นพระอนุชาขององค์รองของท้าวกุเรปัน เป็นคนรักษาคำพูด มีขัตติยะมานะ รอบคอบในการศึก

นางบุษบา : นางบุษบาเป็นคนที่อยู่ในโอวาทของพ่อแม่ แม้จะไม่พอใจในรูปร่างของตรกา แต่ก็ไม่ปฏิเสธเมื่อพ่อแม่ยกนางบุษบาให้จรกา บุษบาเป็นคนไม่เจ้ายศเจ้าอย่าง แม้ตนเองจะสูงศักดิ์

ท้าวกะหมังกุหนิง : เป็นกษัติรย์เมืองกะหมังกุหนิง มีความรักต่อลูก ใจเด็ด แต่ประมาท

วิหยาสะกำ : เป็นคนเอาแต่ใจ ยึดตัวเองเป็นที่ตั้ง ใจเด็ด แต่ด้วยความที่อายุยังน้อย เลยใจร้อน ทำให้เสียชีวิตก่อนวัยอันควร

บทวิเคราะห์

บทละครเรื่อง อิเหนา ตอนศึกกะหมังกุหนิง สามารถนำมาวิเคราะห์และประเมินคุณค่าในด้านต่างๆได้ดังนี้

คุณค่าทางด้านเนื้อหา

๑) โครงเรื่อง

๑.๑) แนวคิดของเรื่อง เรื่องอิเหนา ตอนศึกกะหมังกุหนิงเป็นเรื่องที่แสดงให้เห็นถึงความรักที่พ่อมีให้ต่อลูก รักและตามใจลูกทุกอย่าง แม้กระทั่งตัวตายก็ยอม

๑.๒) ฉาก เนื้อเรื่องเป็นเรื่องของชวา แต่การบรรยายฉากในเรื่องเป็นฉากของไทย บ้านเมืองที่กล่าวพรรณนาไว้คือกรุงรัตนโกสินทร์ วัฒนธรรมประเพณีที่ปราก อ่านเพิ่มเติม

คำศัพท์

กระยาหงัน
วิมาน  สวรรค์ชั้นฟ้า
กะระตะ
เร่งม้า
กั้นหยั่น
อาวุธสำหรับเหน็บติดตัว
กิดาหยัน
ผู้มีหน้าที่รับใช้ใกล้ชิดพระมหากษัตริย์
กิริณี
ช้าง
แก้วพุกาม
แก้วอันมีค่าจากเมืองพุกามในพม่า
เขนง
เขาสัตว์สำหรับใส่ดินปืน
คับแคบ
ชื่อนกชนิดหนึ่งเป็นนกเป็ดน้ำที่มีขนาดเล็กที่สุด
เค้าโมง
ชื่อนกมีหลายชนิดหากินเวลากลางคืน เค้า หรือ ฮูก ก็เรียก
แค
ชื่อต้นไม้ดอกมีสีขาวและแดง ยอดอ่อนและฝักกินได้
อ่านเพิ่มเติม

เนื้อเรื่อง

                                                       ท้าวกะหมังกุหนิงปราศรัยกับระตูปาหยังและท้าวปะหมัน

                                      เมื่อนั้น                               ท้าวกะหมังกุหนิงเรืองศรี

                             เสด็จเหนือแท่นรัตน์มณี              ภูมีเห็นสองอนุชา

                             จึงตรัสเรียกให้นั่งร่วมอาสน์          สำราญราชหฤทัยหรรษา

                             แล้วปราศรัยระตูบรรดามา            ยังปรีดาผาสุกหรือทุกข์ภัย

                            ซึ่งเราให้มาในทั้งนี้                       จะไปตีดาหากรุงใหญ่

                            ระตูทุกนครอย่านอนใจ                 ช่วยเราชิงชัยให้ทันการ   อ่านเพิ่มเติม

เรื่องย่อ


เนื้อเรื่อง อิเหนา ตอน ศึกกะหมังกุหนิง มีดังนี้

ท้าวกะหมังกุหนิงส่งทูตไปสู่ขอบุษบา แต่ได้รับการปฏิเสธจากท้าวดาหาจึงเตรียมจัดยกทัพไปตีเมืองดาหาโดยให้พระอนุชา ยกทัพมาช่วย ท้าวกะหมังกุหนิงให้วิหยาสะกำเป็นทัพหน้า พระอนุชาทั้งสองเป็นทัพหลัง

ฝ่ายท้าวดาหาได้ขอความช่วยเหลือไปยังท้าวกุเรปัน และท้าวกาหลัง และท้าวสิงหาส่าหรี ท้าวกุเรปันส่งราชสารฉบับหนึ่งส่งให้อิเหนายกทัพมาช่วยท้าดาหาทำศึก อีกฉบับส่งไปให้ระตูหมันหยาโดยตำหนินางจินตหราว่าเป็นต้นเหตุที่ทำให้เกิดศึกครั้งนี้ ระตูหมันหยารู้สึกผิดจึงเร่งให้อิเหนายกทัพไปเมืองดาหา ส่วนท้าวกาหลังให้ตำมะหงงกับดะหมังคุมทัพมาช่วย ท้าวสิงหัดส่าหรีส่งสุหรานากงผู้เป็นโอรสมาช่วยรบ

เมื่อทะที่ช่วยเมืองดาหารบมาครบกันแล้ว อิเหนามีบัญชาให้จักทัพรบกับท้าวกะหมังกุหนิง

ครั้นทั้งสองฝ่ายเผชิญหน้ากัน สังคามาระตาเป็นคู่ต่อสู้กับวิหยาสะกำและสังหารวิหยาสะกำได้ ท้ากะหมังกุหนิงเห็นโอรสถูกสังหารตกจากม้าก็โกรธ ขับม้าไล่ล่าสังคามาระตา อิเหนาจึงเข้าสกัดและต่อสู้ ทั้งสองฝ่ายฝีมือเท่าเทียมกัน จนในที่สุดอิเหนาจึงใช้กริชสังหารท้าวกะหมังกุหนิงได้ ทัพฝ่ายท้าวกะหมังกุหนิงจึงเป็นฝ่ายพ่ายแพ้ไป

ลักษณะคำประพันธ์

         บทละครรำ เรื่อง อิเหนา มีรูปแบบการแต่งกลอนบทละครซึ่งมีลักษณะบังคับเหมือนกลอนสี่สุภาพ แต่ละวรรคมักจะขึ้นต้นด้วยคำว่า “เมื่อนั้น” “บัดนั้น” และ “มาจะกล่าวบทไป”

แผนผังและตัวอย่างบทละคร

บัดนั้น                                  ดะหมังผู้มียศถา

                           นับนิ้วบังคมคัลวันทา                               ทูลถวายสาราพระภูมี

                                              เมื่อนั้น                                  ระตูหมันหยาเรืองศรี

                          รับสารมาจากเสนี                                     แล้วคลี่ออกอ่านทันใด